top of page

      หลักการจัดการเรียนรู้แบบ KRUSAM Model

         การเรียนรู้โดยที่ผู้เรียนได้สะท้อนจากสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ชุมชน นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนที่จะทำมาศึกษา ซึ่งผู้เรียนสามารถสร้างทางเลือก ที่จะได้รับความรู้ มีทักษะ และเจตคติที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ชุมชน ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจรู้ทันภาวการณ์เปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ Interaction กับสิ่งต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลอื่น จากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางธรรมชาติ และสื่อต่าง ๆ และมีความสามารถในการส่งผลการเรียนรู้สู่ชุมชน และสามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนใกล้เคียงเป็นฐานการเรียนรู้และร่วมกันตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ 

KRUSAM Model

                        รูปแบบการสอน

  ในการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ข้าพเจ้าได้นำเอาวิธีสอนแบบ KRUSAM Model  นำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่าง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ดำเนินการเรียนการสอน โดยใช้การสอนแบบ KRUSAM Model 6 ขั้นตอน คือ

        1. K= Knowledge     ความรู้ความจำ

        2. R= Reflect          ไตร่ตรอง

        3. U=Usa            สังเกตการนำไปใช้ประโยชน์

        4. S= Share            แบ่งปันความรู้

        5. A=Assessment    ประเมินตามสภาพจริง

        6. M= Management การจัดการความรู้

โมเดล.png

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

ดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ KRUSAM Model ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 Knowledge ความรู้ความจำ

ผู้สอนเป็นกระตุ้นความรู้เดิมของผู้เรียนให้ผู้เรียนสามารถสำรวจความสนใจของตนเองผู้สอนเสนอสถานการณ์หรือตัวอย่างที่เป็นปัญหาและกระตุ้นให้ผู้เรียนหาวิธีการแก้ปัญหาหรือยั่วยุให้ผู้เรียนมีความต้องการใคร่เรียนใคร่รู้ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ขั้นที่ 2 Reflect ไตร่ตรอง

       ผู้สอนอธิบายแนวทางการเชื่อมโยงเหตุการณ์ในขั้นตอนที่ 1 ขยายความ เปรียบเทียบ ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ และอธิบายให้เหตุผลสนับสนุนโดยนำประสบการณ์เดิมของตนออกมาใช้ในการเรียน และแบ่งปันประสบการณ์ของตนเองกับเพื่อน ๆ ที่อาจมีประสบการณ์คล้ายหรือแตกต่างกันให้ผู้เรียน

ขั้นที่ 3 Usa สังเกตการนำไปใช้ประโยชน์

                 ผู้สอนอธิบายให้ความรู้พื้นฐาน และตั้งคำถาม ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct) โดยการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ สร้างประสบการณ์จริง สำรวจ หรือทดลอง ทำความเข้าใจ สร้างความหมายข้อมูลความรู้ จัดระเบียบโครงสร้างความรู้ และสรุปความรู้ด้วยตนเอง ตั้งสมมติฐานถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหากเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงแปลงไป เพื่อนำเสนอ

ขั้นที่ 4 Share แบ่งปันความรู้

      ผู้เรียนนำผลลัพธ์ที่เกิดจากการสร้างความรู้ นำเสนอให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนโดยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีโดยแต่ละกลุ่มจะช่วยส่งเสริม ปรับปรุงการทำงาน และการจัดการกับข้อมูล แสดงความคิดเห็นกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เรียน นำความรู้ที่ได้รับพัฒนาและปรับปรุงสร้างเป็นผลงานหรือ นวัตกรรมที่เกิดจากความคิดเชื่อมโยงความรู้และทักษะที่มีกับความรู้ใหม่ และลงมือสร้างนวัตกรรมในการเปลี่ยนโลกทัศน์จากประสบการณ์ของตน โดยผู้เรียนไตร่ตรองสะท้อนคิดเป็นวงจร เกิด ระหว่าง และหลัง

ขั้นที่ 5 Assessment  ประเมินตามสภาพจริง

       ผู้เรียนสรุปและสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการอภิปราย จากนั้นผู้เรียนต้องสรุปประเด็นที่ศึกษาให้เป็นหลักการสรุป และแสดงผลงาน หรือการจัดนิทรรศการ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ประเมินตามสภาพจริง โดยวิธีการที่หลากหลาย ตนเองประเมิน เพื่อนประเมิน ครูประเมิน ผู้ปกครองประเมิน

ขั้นที่ 6 Management   การจัดการความรู้

                   ความรู้ที่ได้สรุปเป็นองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนา ต่อยอด เป็นองค์ความรู้ใหม่  จากกิจกรรม active learning เกิดการจดจำด้วยประสบการณ์ การลงมือปฏิบัติและยังพัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

bottom of page