top of page

 การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

(ออกอากาศ ๒๐ พ.ค. ๖๓)

ปีการศึกษา ๒๕๖๓/๑

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

กลุ่มสาระภาษาไทย

หน่วยจับใจจับตาหาความสำคัญ

เรื่องการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง 

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง 22 พ.ค. 62 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. หลักในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

          1.  ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การแบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์เสียง

               หนักเบา

          2.  อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย

          3.  อ่านตามบังคับสัมผัส เช่น กัด-ตะ-เว-ที เพื่อให้สัมผัสกับ สัตย์

          4.  อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน

          5.  อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือเบาจนเกินไป

          6.  คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา

          7.  มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง หรือหลบเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท

   2. ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง

         การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

          1.  ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น

          2.  ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านและขณะกำลังอ่านเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

          3.  ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผันวรรณยุกต์

          4.  พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ

          5.  หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่าง ๆ อยู่เสมอจึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนอธิบายหลักการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

2.อ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

การวัดผลและประเมินผล

1.ใช้คำถาม

2.ทดสอบการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

สื่อประกอบการสอน

สื่อประกอบการสอน
ใบงานประกอบการสอน
ใบความรู้ประกอบการสอน
bottom of page